ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
 
ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์และการพัฒนา)
ชื่อย่อ: ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และการพัฒนา)
 
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการความรู้ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และการพัฒนา ทักษะการวิจัยและบริบททางสังคม ชุมชน เพื่อการออกแบบ การพัฒนา หรือสร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรม เพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาสังคม ชุมชน ตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม บัณฑิตมีความเป็นผู้นาที่มีเจตคติที่เป็นบวกต่อการพัฒนา มีความสามารถในการเรียนรู้จากการทางานและทางานร่วมกับผู้อื่นได้
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
       เมื่อสาเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว มหาบัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้
1 มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายทฤษฎีสังคมศาสตร์เชื่อมโยงกับประเด็นการพัฒนาสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพปัญหาเข้าใจประเด็นสาคัญและข้อถกเถียงหลักต่อการพัฒนาโดยเฉพาะในภาคอีสานและอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง
2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ในการศึกษาวิจัยภาคสนาม การผลิตงานวิจัยและบทความทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับปัญหาการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในบริบทท้องถิ่นอีสานใต้และอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง
3 สามารถออกแบบการพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อการพัฒนาหรือแก้ปัญหาบนพื้นฐานของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
4 มีคุณธรรมและจริยธรรมในการวิจัย และมีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม มีความเป็นผู้นารวมถึงแสดงออกซึ่งภาวะผู้นาในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม สามารถสื่อสารเชิงวิชาการ รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร มีทักษะในการทางานเป็นทีม ทางานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี
 
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 นักวิจัย
2 นักวิชาการด้านการพัฒนา
3 นักพัฒนาชุมชน/นักพัฒนาสังคม
4 เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร
5 ผู้ประกอบอาชีพในหน่วยงานพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6 ผู้ประกอบการธุรกิจทางสังคม
7 บุคลากรด้านการศึกษา
 
ลักษณะของหลักสูตร
1 แผน ก แบบ ก1  (วิทยานิพนธ์จำนวน 36 หน่วยกิต)
2 แผน ก แบบ ก2 (ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต - 12 หน่วยกิตสำหรับวิทยานิพนธ์)
3 แผน ข (ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต - 6 หน่วยกิตสำหรับการค้นคว้าอิสระ)
 

การเรียนการสอน

หลักสูตรมีระยะเวลาการศึกษา 2 ปี แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติและเรียนเฉพาะจันทร์ - อาทิตย์ (ไม่นับรวมระยะเวลาในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ)